Offer Category: สหกรณ์

    เลือกจำนวนเงินและระยะเวลาของเงินกู้

    บาท
    เดือน
    วิธีการรับ
    สมัครเลย

    ต้องการกู้เงินง่ายบนแอพถูกกฎหมายหรือแอพผ่อนของ รับสินเชื่อมากมายกับบริษัทเงินด่วนทันใจให้ผ่อนโทรศัพท์ไม่ใช้บัตรวันนี้

    สหกรณ์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    สหกรณ์กรมส่งเสริมท้องถิ่น ฝากเงินง่ายๆ รับดอกเบี้ยสูง

    สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขเชียงใหม่

    สหกรณ์สาธารณสุขเชียงใหม่ เปิดให้สมัครสมาชิกในปี 67

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูน่าน

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูน่านกู้เงินได้ไหมเช็คเลย! 2567

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครศรีธรรมราช

    ขอกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครศรีธรรมราช กู้ง่ายวงเงินสูง

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย

    ส่องบริการจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย 2567

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา

    ยื่นกู้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมาใช้อะไรบ้าง?

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษ

    สหกรณ์ออมทรัพย์ครูศรีสะเกษปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยถูก

    สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

    กู้เงินสหกรณ์กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นดีไหม?

    สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาล

    สหกรณ์ออมทรัพย์พนักงานเทศบาลฝากเงินดอกเบี้ยสูง

    ความหมายของคำว่า สหกรณ์ องค์กรที่แบ่งปันผลประโยชน์ให้กันและกัน

    คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่าสหกรณ์มาตั้งแต่ยังเด็ก หรือในช่วงวัยที่คุณกำลังเข้าโรงเรียน แต่อาจจะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงว่าจริง ๆ แล้วสหกรณ์ คืออะไรกันแน่ สหกรณ์มีลักษณะอย่างไร สำหรับคำว่าสหกรณ์ คือองค์กรที่เกิดจากการรวมตัวกันของคนกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจร่วมกันไม่ว่าจะเป็นในส่วนของเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้แต่วัฒนธรรม การมีอยู่ของสหกรณ์นั้นจะเน้นการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในสหกรณ์ การจัดตั้งสหกรณ์จะต้องมีสมาชิกตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และมีการดำเนินกิจกรรมร่วมกันเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งสหกรณ์นั้นเป็นองค์กรที่ทั่วโลกจัดตั้งขึ้นตามความสมัครใจของแต่ละกลุ่ม รวมไปถึงสหกรณ์ไทยเองก็มีเช่นกัน ซึ่งเราก็จะไปดูกันต่อในส่วนของประวัติความเป็นมาว่าเป็นอย่างไร และหลักการสหกรณ์มีอะไรบ้าง

    รู้จัก สหกรณ์ กับประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของสหกรณ์แห่งแรกของโลก

    หลายคนอาจจะยังไม่ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสหกรณ์ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ก่อนอื่นเลยนั้น บิดาของสหกรณ์ คือ โรเบิร์ด โอเวน ซึ่งสหกรณ์ถือกำเนิดขึ้นในยุโรปซึ่งเป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่ต้องใช้ที่ดินเยอะ ทำให้เกิดการไล่ซื้อที่ดินเป็นจำนวนมากจนประชาชนใม่มีที่ดินสำหรับทำกินจนต้องเข้าเมืองหลวงไปเพื่อใช้แรงงาน หลังจากนั้นโรเบิร์ด โอเวน ก็ได้หาวิธีสร้างสังคมควบคู่ไปกับระบบเศรษฐกิจที่ยั่งยืน จนเกิดเป็นการสหกรณ์ขึ้นมา แต่สหกรณ์แห่งแรกของโลกนั้นเกิดขึ้นในโรงงานทอผ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากการระบบเศรษฐกิจในหลาย ๆ ด้าน ก็เลยมีการเอาตัวรอดกันด้วยการใช้วิธีสหกรณ์ที่โรเบิร์ด โอเวนได้คิดค้นขึ้นมา โดยรอชเดล เป็นผู้ก่อตั้งร้านสหกรณ์ และมีสมาชิกร่วมก่อตั้ง มีข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นกฎแม่บทของหลักการสหกรณ์ สหกรณ์แห่งนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็นสหกรณ์แห่งแรกของโลก และนี่ก็คือประวัติความเป็นมาโดยคร่าว ๆ ของคำว่าสหกรณ์ และสหกรณ์แห่งแรกของโลก ซึ่งในส่วนของหลักการสหกรณ์มีอะไรบ้างนั้น เราก็จะพาทุกคนไปรู้จักกับหลักการสหกรณ์กันต่อ

    หลักการของสหกรณ์จำนวน 7 ข้อมีอะไรบ้าง

    สำหรับหลักการสหกรณ์มีอะไรบ้างนั้น หลักการสหกรณ์ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน ข้อแรกคือ การเป็นสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะสมัครสมาชิกหรืออยากทำการจัดตั้งสหกรณ์ และยังไม่รู้ว่าหลักการสหกรณ์มีอะไรบ้าง ข้อแรกนั้นเป็นข้อที่ทุกคนจะต้องพึงตระหนักไว้ให้ดี เพราะสหกรณ์เป็นองค์กรที่เปิดรับทุกคนให้สมัครสมาชิกได้โดยปราศจากอคติทั้งหมดทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ การเมือง หรือศาสนา หลักการสหกรณ์ข้อที่สองคือ การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย หากคุณจะเข้ามาสมัครสมาชิกสหกรณ์ไม่ว่าด้วยวัตถุประสงค์ใดก็ตาม คุณจะต้องยอมรับในหลักแนวทางประชาธิปไตย สมาชิก 1 คนมี 1 เสียงเท่ากันหมด ไม่มีการคานอำนาจซึ่งกันและกันเด็ดขาด หลักการสหกรณ์ข้อต่อมาคือการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจของสมาชิก สมาชิกสหกรณ์จะมีการให้และควบคุมการใช้เงินทุนตามแนวทางประชาธิปไตย โดยทุนของสหกรณ์ส่วนหนึ่งจะมาจากทรัพย์สินส่วนรวมของสหกรณ์ และสมาชิกจะได้รับเงินปันผลตามเงื่อนไข หลักการสหกรณ์ข้อถัดมาคือการปกครองตนเองและความเป็นอิสระ เนื่องด้วยสหกรณ์ คือองค์กรที่พึ่งพาและปกครองตนเองโดยการควบคุมของสมาชิก ถ้าสหกรณ์มีความจำเป็นที่จะต้องตกลงหรือมีพันธะกับองค์กรอื่น ต้องทำโดยเงื่อนไขที่แน่ใจได้ว่าสมาชิกจะยังคงไว้ซึ่งหลักประชาธิปไตยและยังดำรงความเป็นอิสระของสหกรณ์ ข้อถัดมาของหลักการสหกรณ์ก็คือ การศึกษา การฝึกอบรม และข่าวสาร สหกรณ์จะมีการให้การศึกษา อบรมกับสมาชิกเพื่อให้มีการพัฒนาสหกรณ์ หลักการสหกรณ์ข้อต่อมาคือ การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ สหกรณ์จะสามารถบริการสมาชิกและสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มสหกรณ์ได้โดยการประสานงานและร่วมมือกันกับสหกรณ์หลาย ๆ ภาคส่วน และหลักการสหกรณ์ข้อสุดท้ายคือ ความเอื้ออาทรต่อชุมชน สหกรณ์จะทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ตามนโยบายที่สมาชิกตกลงกันไว้

    นอกจากสหกรณ์โลก สหกรณ์ไทยเองก็มีประวัติสหกรณ์ไทยด้วย

    สำหรับสหกรณ์ไทยที่คนไทยหลาย ๆ คนคุ้นเคยก็อาจจะเป็นในส่วนของสหกรณ์โรงเรียน ที่ขายสินค้าที่จำเป็นต่อการใช้เรียน และได้รับเงินปันผลในแต่ละปี ซึ่งนี่ก็จัดว่าเป็นส่วนที่ดีที่ทำให้เด็กนักเรียนไทยได้รู้จักสหกรณ์ไทย แต่หลาย ๆ คนแม้จะเรียนจบมาหลายปีแล้วแต่ก็อาจจะยังไม่ทราบว่าสหกรณ์ไทยถือกำเนิดขึ้นมาได้อย่างไร ซึ่งเราก็จะพาทุกท่านไปรู้จักกับประวัติสหกรณ์ไทยกันต่อ เพื่อให้เข้าใจกันอย่างกระจ่างมากขึ้นว่าจริง ๆ แล้วสหกรณ์ไทยทำการจัดตั้งขึ้นมาได้อย่างไร แล้วประวัติสหกรณ์ไทยจริง ๆ แล้วเป็นอย่างไรกันแน่ สำหรับประวัติสหกรณ์ไทยนั้นเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศไทยกำลังมีการค้าขายกับต่างชาติ จากระบบเศรษฐกิจเพื่อเลี้ยงก็เปลี่ยนมาเป็นเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ชาวนาไม่มีทุนเป็นของตัวเองก็ต้องไปขอกู้ยืมเงินผ่านแอพจนเสียดอกมากมาย และไม่ได้กำไรจากการขายข้าวเท่าที่ควร จึงมีการจัดตั้งสมาคมสหกรณ์ไทยขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ชาวนาในส่วนของการกู้ยืมขนาดเล็กและยังมีที่ดินทำกินของตัวเอง

    ปัจจุบันสหกรณ์แบ่งประเภทอย่างไรได้บ้าง แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

    ก่อนจะแบ่งประเภทสหกรณ์ ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่าตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ ระบุไว้ว่าสหกรณ์มีอยู่ 2 ชนิดด้วยกัน ได้แก่สหกรณ์จำกัด และสหกรณ์ไม่จำกัด ซึ่งสหกรณ์จำกัดนั้นก็คือสหกรณ์ที่สมาชิกมีความรับผิดชอบจำกัดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ยังใช้ไม่ครบมูลค่าหุ้นที่ถือ ส่วนสหกรณ์ไม่จำกัดคือสหกรณ์ที่สมาชิกทุกคนมีความรับผิดชอบร่วมกันในหนี้ของสหกรณ์โดยไม่จำกัด ซึ่งเราจะยกเรื่องของสหกรณ์จำกัดและสหกรณ์ไม่จำกัดไว้ภายหลัง เพราะในส่วนของการแบ่งประเภทจริง ๆ นั้นจะแบ่งตามประเภทของบริการ โดยแบ่งออกเป็น 2 ภาค 7 ประเภทด้วยกัน ได้แก่สหกรณ์ภาคการเกษตรและสหกรณ์นอกภาคการเกษตร สหกรณ์ภาคการเกษตรจะมีประเภทสหกรณ์ 3 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร วัตถุประสงค์คือให้บริการสินเชื่อเพื่อเกษตรกร ดอกเบี้ยต่ำ รับฝากเงินจากสมาชิก และยังช่วยจัดหาวัสดุ จัดหาตลาด รวมถึงคอยอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกอีกด้วย สหกรณ์ประมง วัตถุประสงค์คือ จัดหาเงินกู้ให้สมาชิกไปลงทุนประกอบอาชีพ จัดหาอุปกรณ์และตลาด สงเคราะห์สมาชิกและครอบครัวที่ประสบภัยพิบัติ รวมไปถึงการให้ความรู้แก่สมาชิก และสหกรณ์นิคม วัตถุประสงค์คือ จัดหาที่ดินมาจัดสรรเพื่อกลุ่มคนที่ต้องการจะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร จัดสรรสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ผู้อยู่อาศัย และรวบรวมสมาชิกที่เพิ่งเข้ามาอยู่อาศัยให้ก่อตั้งสหกรณ์และดำเนินธุรกิจแบบเดียวกับสหกรณ์เกษตร และในส่วนของสหกรณ์นอกภาคการเกษตรก็ประกอบไปด้วยประเภทสหกรณ์ 4 ประเภท ได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ วัตถุประสงค์คือส่งเสริมการออมทรัพย์ โดยซื้อหุ้นอย่างน้อย 1 หุ้นและรับปันผลปลายปี หรือฝากเงินและรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และยังให้บริการเงินกู้โดยนำเงินค่าหุ้นหรือเงินฝากของสมาชิกมาหมุนเวียนให้กู้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าการกู้เอกชน สหกรณ์ร้านค้า วัตถุประสงค์คือจัดหาสินค้า อาหารมาจำหน่ายโดยคิดราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดแต่ของมีคุณภาพ ช่วยจำหน่ายผลผลิตของสมาชิก ให้ความรู้แก่สมาชิก สหกรณ์บริการ วัตถุประสงค์คือ ให้บริการด้านการประกอบอาชีพ จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น รับฝากเงิน กู้เงิน ส่งเสริมด้านสวัสดิการ และช่วยเหลือด้านกฎหมาย และประเภทสหกรณ์ประเภทสุดท้าย สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน วัตถุประสงค์คือ รับฝากเงินเพื่อส่งเสริมการออม ให้กู้เงินและคิดดอกเบี้ยที่เป็นธรรม จัดตั้งกองทุนพัฒนาชุมชน และให้บริการตามความต้องการของสมาชิก เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของสมาชิก จากประเภทสหกรณ์ทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าสหกรณ์ทุกประเภทล้วนมีประโยชน์ต่อสมาชิกของแต่ละสหกรณ์ทั้งนั้น

    รู้จักสองชนิดของสหกรณ์ สหกรณ์จำกัดและไม่จำกัด แตกต่างกันอย่างไร

    จากในช่วงที่แล้วที่ได้กล่าวถึงสหกรณ์จำกัด และสหกรณ์ไม่จำกัดไป หลายคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ว่าจริง ๆ แล้วสหกรณ์ทั้งสองชนิดนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง สหกรณ์จำกัดนั้นคำเต็ม ๆ ของคำว่าจำกัดคือ จำกัดสินใช้ เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์และเครดิตสำหรับคนมีเงินเดือน  การรับผิดชอบต่าง ๆ นานา ก็จะอยู่แค่ในจำนวนมูลค่าหุ้นที่ถือไว้ ส่วนสหกรณ์ไม่จำกัดก็คือสมาชิกจะร่วมกันรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดทั้งปวงโดยที่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในจำนวนมูลค่าหุ้นที่ถือไว้นั่นเอง ซึ่งวิธีสังเกตก็ง่าย ๆ สหกรณ์จำกัด จะมีคำว่าจำกัด อยู่ท้ายชื่อสหกรณ์ แต่ถ้าเป็นสหกรณ์ไม่จำกัด ก็จะระบุไว้ท้ายชื่อเลยว่าไม่จำกัด

    ลักษณะของสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นอย่างไร สหกรณ์มีลักษณะอย่างไร

    อีกคำถามหนึ่งที่คนสงสัยกันมาเยอะว่าสหกรณ์มีลักษณะอย่างไร ตอนนี้ต้องอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ก่อนว่าสหกรณ์ก็เป็นเหมือนชุมชนเล็ก ๆ ชุมชนหนึ่งที่ทุกคนพร้อมใจกันเข้ามาเพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกัน เอื้ออำนวยซึ่งกันและกันตามแต่ประเภทสหกรณ์ แล้วสหกรณ์มีลักษณะอย่างไร ลักษณะของสหกรณ์จะมีดังนี้ อย่างแรกคือมีลักษณะเป็นธุรกิจรูปแบบหนึ่ง ที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจหรือเพิ่มรายได้ให้สมาชิก อย่างที่สองสมาชิกทุกคนเข้ามาสมัครสมาชิกด้วยความสมัครใจและเป็นไปตามประชาธิปไตย อย่างที่สามสหกรณ์จะมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจที่แน่นอน อย่างที่สี่ สมาชิกทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันของสหกรณ์ อย่างที่ห้า จดทะเบียนถูกต้องโดยมีฐานะเป็นนิติบุคคล อย่างที่หก มีกฎหมายและข้อบังคับสหกรณ์เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ และอย่างที่เจ็ด มีผลประโยชน์ร่วมกันและแบ่งปันผลตามตัดส่วน ในส่วนของลักษณะทั้งเจ็ดของสหกรณ์ก็คงจะพอคลายข้อสงสัยไปได้บ้างแล้วว่าสหกรณ์มีลักษณะอย่างไร

    แม้แต่สหกรณ์ก็มีหุ้น รู้จักกับหุ้นสหกรณ์ ปันผลทุกปลายปี

    ในส่วนของการเป็นสมาชิกสหกรณ์นั้น หลาย ๆ คนก็มักจะได้ถือหุ้นสหกรณ์ไปตั้งแต่หลังจากที่เข้าร่วมสมาชิกได้สำเร็จ หุ้นสหกรณ์คือสิ่งที่สมาชิกทุกคนจะได้ตั้งแต่แรก สมาชิกจะต้องถือหุ้นสหกรณ์และชำระค่าหุ้นเป็นรายเดือนตั้งแต่เดือนแรก และสมาชิกหนึ่งคนจะไม่สามารถถือหุ้นในสหกรณ์ได้เกินกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของสหกรณ์ ซึ่งหุ้นสหกรณ์นั้นสิ่งที่คุณจะได้ก็คือเงินปันผลในช่วงท้ายปีได้แก่ สหกรณ์สาธารณสุขเชียงใหม่ ซึ่งแบ่งไปตามสัดส่วนของอัตราเงินปันผลและจำนวนสัดส่วนหุ้นสหกรณ์ของแต่ละคน

    ประโยชน์ของสหกรณ์เหมาะกับใคร ใครควรสมัครสมาชิก

    สำหรับประโยชน์ของสหกรณ์มีอะไรบ้าง เหมาะกับใครบ้าง และใครควรเป็นสมาชิกบ้าง ในส่วนนี้คุณต้องย้อนกลับไปที่ประเภทสหกรณ์ที่ถูกแบ่งออกเป็น 7 ประเภท นี่คือสหกรณ์ประเภทหลัก ๆ ในไทยที่มีอยู่ และส่วนใหญ่ก็จะดำเนินกิจกรรมกันเช่นนี้ เมื่อรู้แล้วว่าประเภทของสหกรณ์มีอะไรบ้าง ก็จะง่ายขึ้นต่อการจำแนกว่าสหกรณ์แต่ละประเภทนั้นจะเอื้อผลประโยชน์แบบไหนให้ใคร หากคุณคือกลุ่มคนที่ประกอบอาชีพในภาคการเกษตร คุณก็คงจะพอเห็นแล้วว่าสหกรณ์มีอะไรบ้างที่เป็นประโยชน์แก่อาชีพของคุณ จริง ๆ แล้วประโยชน์ของสหกรณ์และแนวคิดนั้นเป็นสิ่งที่ดีมากในการช่วยเหลือสมาชิกที่มีหัวอกเดียวกัน มีจุดหมายแบบเดียวกัน หากคุณอยากจะเข้าไปเพื่อขอรับความช่วยเหลือ หรือเข้าไปเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ก็แนะนำว่าคุณเองก็ควรจะสมัครสมาชิกสหกรณ์ เพื่อที่จะได้เห็นว่าปัญหาของสมาชิกในแต่ละสหกรณ์มีอะไรบ้าง แต่ถ้าคุณเป็นประเภทที่หาความร่ำรวยแบบข้ามคืนและกำลังเล็ง ๆ สหกรณ์อยู่ สหกรณ์ก็คงไม่ใช่คำตอบที่คุณต้องการสักเท่าไหร่

    เราสามารถจัดตั้งสหกรณ์ด้วยตัวเองได้หรือไม่ หากมีสมาชิกเพียงพอ

    คุณสามารถจัดตั้งสหกรณ์ด้วยตัวเองได้ หากคุณมีไอเดียในการที่จะสร้างสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือ 1 ใน 7 ประเภทสหกรณ์ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น หลังจากนั้นคุณก็รวบรวมสมาชิกตามเกณฑ์ที่กำหนดเกิน 10 คนขึ้นไป โดยสมาชิกจะต้องมีหลักการเดียวกันและยึดมั่นในหลักการสหกรณ์ไปด้วยกันกับคุณ แล้วหลังจากนั้นก็ทำการร่างโครงการ ประเภทสหกรณ์  ประโยชน์ของสหกรณ์ที่คุณต้องการจัดตั้ง และวัตถุประสงค์ต่าง ๆ เอาไว้ให้ละเอียดก่อนจะนำไปยื่นขอจัดตั้งสหกรณ์กับทางกรมส่งเสริมสหกรณ์เพื่อรอรับการอนุมัติอย่างถูกกฎหมาย

    สมัครสมาชิกสหกรณ์ผ่านช่องทางออนไลน์ได้หรือไม่

    ถ้าตอนนี้คุณรู้สึกว่าคุณอยากจะเป็นสมาชิกสหกรณ์ หรืออยากจะทำการจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นมา แต่คุณกลัวว่าในขั้นตอนการขอจัดตั้งต่าง ๆ นั้นจะทำให้คุณวุ่นวายหัวหมุน และอยากจะสมัครสมาชิกผ่านทางออนไลน์มากกว่า แต่ไม่รู้ว่าออนไลน์สามารถทำได้หรือไม่นั้น ก็ต้องบอกเลยว่าสามารถทำได้ โดยคุณสามารถเข้าไปขอจองชื่อสหกรณ์ เช่น สหกรณ์กรมการปกครองท้องถิ่น เป็นต้น และอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งได้ผ่านช่องทางออนไลน์อย่างเว็บกรมส่งเสริมสหกรณ์

    สรุปแล้วสหกรณ์คืออะไร ดีอย่างไร ใครได้ประโยชน์จากการจัดตั้ง

    โดยสรุปแล้วนั้นสหกรณ์ คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือ และสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ให้กับสมาชิกในสหกรณ์ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันตามหน้าที่และวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นในเรื่องของเศรษฐกิจและการพัฒนา การอำนวยความสะดวกในส่วนของแต่ละอาชีพ ซึ่งก็ถือเป็นองค์กรที่มีประโยชน์มากเลยทีเดียว และนอกจากนี้สหกรณ์เองก็ยังเป็นองค์กรที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายและข้อบังคับของสหกรณ์ที่ชัดเจนและสมาชิกพึงต้องร่วมกันปฏิบัติเพื่อให้สหกรณ์สามารถไปต่อได้และเกิดประโยชน์ได้จริง ซึ่งประโยชน์นั้นก็จะตกอยู่กับสมาชิกในสหกรณ์ด้วยกันเองไม่ใช่ใครที่ไหน และที่สำคัญที่สุดนั่นก็คือทุกคนในสหกรณ์จะต้องยึดมั่นตามหลักประชาธิปไตย ไม่ให้น้ำหนักเสียงของใครมากกว่าสมาชิกคนอื่น ๆ ในสหกรณ์ด้วยเช่นกัน